top of page
เกี่ยวกับ coming soon • เร็ว ๆ นี้
A Bangkok Biennial 2018 pavilion

ขอต้อนรับคุณสู่ Cédric’s Room ห้องเล็ก ๆ ในหลังบ้านของพวกเรา ศิลปะจัดวางอันดำดิ่งพร้อมด้วยเสียงประกอบโดยเซดริก มาริแด (Cédric Maridet) ศิลปินจากฮ่องกงและวิดีโอบันทึกเรื่องราวของศิลปินจากฮ่องกงและไทย เลิง ชี โว วอร์เรน (Leung Chi Wo Warren), อัยนา ภูยุทธานนท์, ยิม ซุย ฟง (Yim Sui Fong), มิตร ใจอินทร์, ซัมซน ยัง (Samson Young), ฮิม โล (Him Lo), ปิยะรัศมิ์ ปิยะพงศ์วิวัฒน์, ลอว์ ยุกมุย (Law Yuk-mui), อริญชย์ รุ่งแจ้ง, จุฬญาณนนท์ ศิริผล และเหวิน เยา (wen yau) จะมาแชร์ประสบการณ์ของพวกเขากับระบบโลกศิลปะนานาชาติด้วยการนำเอาทรรศนะของมาพวกเขามารวมกัน พวกเรามุ่งหวังที่จะมีส่วนช่วยในการถกเถียงอันเร่งด่วนนี้เกี่ยวกับความเป็นไปได้และความท้าทายในการจัดการเครือข่ายนานาชาติที่จะเอื้อผลประโยชน์แก่โครงสร้างพื้นฐานของศิลปะ ‘ท้องถิ่น’ และจำกัดการปฏิบัติศิลปะที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ

หากเราจะเชื่อการทุ่มโฆษณา การปรากฏตัวของศิลปะร่วมสมัยไทยก็อยู่แค่เอื้อม อีกไม่นาน กรุงเทพมหานครจะถูกวางลงบน ‘แผนที่ศิลปะนานาชาติ’ และกลายเป็น ‘จุดหมา ปลายทางของศิลปะระดับโลกแห่งต่อไป’ ราวกับว่าการกล่าววลีเช่นนั้นซ้ำ ๆ จะทำให้มันกลายเป็นจริงโดยอัตโนมัติ และในขณะที่การขึ้นไปสู่การเป็นสมาคมโลกศิลปะนานาชาติของประเทศไทยดูเหมือนจวนจะเกิดขึ้น มันไม่เคยชัดเจนเลยว่าอะไรจะเกิดตามมาเมื่อโลกได้พุ่งชนเข้ามาและใครจะได้ประโยชน์เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น

ศิลปินและสถาบันศิลปะค้นหาเครือข่ายนานาชาติกันตลอดเวลาเพราะสิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการพบปะกับโลกทัศน์แบบอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยเปิดเผยและกระจายศูนย์ความรับรู้แบบอำนาจนำ รวมถึงทำหน้าที่เป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมพลังอำนาจ อย่างก็ตาม มีคนอื่น ๆ  ที่เสาะหาการสร้างการติดต่อกับนานาชาติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น เพื่อแปะยี่ห้อให้กับเมืองต่าง ๆ บนเวทีโลก เพื่อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสินค้าหรูหรา เพื่อเสริมภาพลักษณ์กระแสหลักของประเทศ หรือเพียงเพื่อทำเงินในตลาด ศิลปะและศิลปินเช่นกันที่ติดอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

เพียงไม่นานมานี้ สถานการณ์ในฮ่องกงมีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาด ปัจจุบันในฐานะศูนย์กลางของโลกศิลปะนานาชาติเชิงพาณิชย์ในเอเชียโดยพฤตินัย เมื่อไม่ถึงทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาอันรวดเร็วของเมืองนี้ฟังดูเหมือนคำพยากรณ์ที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ในฮ่องกงและไทย ศิลปินได้เห็นว่าโลกปะทะกันอย่างไรและตัวชี้วัดความสำเร็จเปลี่ยนไปอย่างไร รวมถึงถูกบังคับให้นิยามใหม่ว่าอะไรคือความหมายของการเป็นศิลปิน พวกเขามีประสบการณ์ในการติดต่อกับโลกศิลปะนานาชาติอย่างไร และในเงื่อนไขแบบใดที่สิ่งเหล่านี้จะเป็นกลายเป็นพลังด้านดีได้

เร็ว ๆ นี้ใกล้บ้านคุณ ระบบโลกศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เตรียมตัวให้พร้อมแล้วมาร่วมสนทนากัน

bottom of page